บทที่ 9 ป้องกันความผิดพลาดจากกระบวนการความคิด

ความผิดพลาดในงานเขียนนั้นอาจจะเกิดมาจากพื้นฐานความคิดของนักเขียน แน่นอนว่านักเขียนหนังสือก็คือคนธรรมดาทั่วไป ซึ่งสามารถเกิดความผิดพลาดในกระบวนการความคิดได้เป็นเรื่องปกติ ไม่ต่างจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตทั่วไป หากแต่ว่างานเขียนคือการบันทึกความคิดที่จะยังอยู่ต่อไป และเมื่อมันถูกเผยแพร่ออกไปสู่สาธารณะแล้วก็ไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้

มีรูปแบบความผิดพลาดของความคิด ที่ทำให้เกิดความผิดพลาดในการตัดสินใจที่สามารถเกิดขึ้น บางทีแล้วการค้นหาความผิดพลาดในเนื้อหาเรื่องสั้นที่เราเขียนเสร็จไปแล้วอาจจะเป็นเรื่องยาก หรืออาจจะเสียเวลา เราจึงควรป้องกันความผิดพลาดในการคิดโดยการศึกษารูปแบบของความผิดพลาด นั่นจะทำให้เราสามารถป้องกันความผิดได้ตั้งแต่ขั้นตอนที่เราเริ่มคิดและตัดสินใจเลย

มีประเด็นทางความคิดที่เราควรใส่ใจให้มากดังต่อไปนี้ เพื่อป้องกันความผิดพลาด

เรามักจะละเลยสิ่งแวดล้อมรอบตัว เมื่อเรามุ่งไปให้ความสนใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเพียงสิ่งเดียว

ความผิดพลาดจากกระบวนการตัดสินใจแบบเร็วและแบบช้า

อคติจากสิ่งที่ชอบหรือเกลียด

อคติจากสิ่งที่เราเป็นคนสร้าง

อคติจากข้อมูลที่สนับสนุนมากเกินไป

การละเลยสิ่งแวดล้อม

ในพฤติกรรมของมนุษย์นั้น เรามีขีดจำกัดเป็นอย่างมากในการที่จะรับข้อมูลจากภายนอก และประมวลผลออกมาในเวลาเดียวกัน เช่นตำรวจที่วิ่งจับผู้ร้ายอยู่ เป็นไปได้ยากมากที่เขาจะเห็นกลุ่มวัยรุ่นตีกันในเส้นทางที่ตำรวจกำลังวิ่งผ่าน และอาจจะห่างจากเขาไปเพียงแค่ 10 เมตร แม้ว่าภาพของกลุ่มวัยรุ่นกลุ่มนั้นอาจจะเข้ามาอยู่ในสายตาของตำรวจก็ตาม ข้อมูลเหล่านั้นอาจจะส่งผ่านมาถึงหน่วยประมวลผลของตำรวจแล้ว แต่เขาก็มุ่งความสนใจไปให้กับชายที่กำลังวิ่งหนีตำรวจมากกว่า

ความผิดพลาดลักษณะนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับการตัดสินใจในงานเขียน หากลองคิดถึงตำรวจที่ไล่จับผู้ร้ายดู จะเห็นว่าการตัดสินใจของตำรวจนั้นอยู่ในช่วงเวลาที่รวดเร็ว จึงทำให้เกิคความผิดพลาดได้ง่าย หากตำรวจนั้นไม่ได้วิ่ง แต่แค่เดินไปสกัดคนร้ายตามจุดที่ได้รับมอบหมาย เขาก็มีโอกาสที่จะเห็นกลุ่มวัยรุ่นที่ตีกันได้มากกว่า

เราสามารถลดความเร็วในกระบวนการคิด ทำให้เกิดความรอบครอบในการรับรู้สภาพแวดล้อมต่างๆในเรื่อง เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการมองข้ามบางสิ่งไป เช่นเมื่อเราเขียนเรื่องเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวน เราสร้างตัวละครมาหลายตัว สร้างเหตุการณ์สร้างสภาพแวดล้อม แต่เรารีบด่วนเฉลยว่าใครคือคนร้ายในเรื่อง จนเราละเลยที่จะอธิบายบางเหตุการณ์ที่เราได้เกริ่นไว้ก่อนหน้านี้ ทำให้เรื่องสืบสวนของเรามีข่องโหว่ที่จะสร้างทางเลือกในการจบ ที่ไม่จำเป็นต้องจบแบบที่นักเขียนออกแบบไว้

ความผิดพลาดจากการตัดสินใจแบบเร็วและแบบช้า

คนเรามีรูปแบบของการตัดสินใจอยู่ 2 แบบ คือแบบที่ 1 คือแบบเร็ว และแบบที่ 2 คือแบบช้า ลองคิดดูว่าหากเราตั้งคำถามกับใครบางคนว่า 2 คูณ 2 เท่ากับเท่าไหร่ แน่นอนว่าทุกคนย่อมตอบได้อย่างฉับพลันว่า 4 ผู้ตอบๆโดยที่ไม่ต้องคำนวนในสมองเลย พวกเขาจดจำรูปแบบของคำตอบได้ในหัวและตอบมันออกมาทันที เหมือนกับที่เรามองดูภาพเครื่องบินก็สามารถบอกได้ทันทีว่ามันคือเครื่องบิน นี่คือการตัดสินใจแบบที่ 1

คราวนี้ลองตั้งคำถามกับคนๆเดิมว่า 22 คูณ 17 เท่ากับเท่าไหร่ ผู้ตอบจะนั่งเงียบไปพักหนึ่งและหาขั้นตอนกระบวนการในการแก้ปัญหา บางคนอาจจะเรียงลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหา เช่น เอา 10 คูณด้วย 22 ได้ 220 จากนั้นเอา 5 คูณ 22 ได้ 110 สุดท้ายเอา 2 คูณ 22 ได้ 44 เอาผลลัพธ์จากทุกข้อมารวมกันจะได้ 374 หรือบางคนอาจจะมีขั้นตอนในแบบอื่นเช่น เอา 17 คูณด้วย 2 ได้ 34 แล้วคูณต่อด้วย 10 ได้ 340 แล้วบวกด้วย 34 อีกที่ก็จะได้ 374 จะเห็นว่าการตัดสินใจแบบนี้เป็นแบบที่ 2 หรือแบบช้า ซึ่งคำตอบที่ได้จากการตัดสินใจแบบนี้จะยากที่จะเป็นคำตอบที่ผิดเพราะผ่านกระบวนการขั้นตอนวิธีคิดมาระดับหนึ่งแล้ว

ความผิดพลาดในรูปแบบนี้คือจะมาจากเราจะใช้วิธีการตัดสินใจแบบที่หนึ่ง มาใช้กับปัญหาที่ควรใช้การตัดสินใจในแบบที่ 2 ถ้าหากใช้การตัดสินใจแบบเร็วตอบคำถาม 22 คูณ 17 ได้เท่าไหร่ หากตอบทันทีและไม่เคยรู้คำตอบมาก่อนย่อมต้องตอบผิดอย่างแน่นอน เหมือนกับเราไปที่ร้านเครื่องประดับ และมองดูสินค้าชิ้นหนึ่งพร้อมตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ หากเราใช้วิธีการตัดสินใจแบบที่ 2 ในการตัดสินใจ เราจะคิดว่าเครื่องประดับชิ้นนี้เหมาะกับเราหรือไม่ หากซื้อมาแล้วจะได้ใส่ในโอกาสไหนบ้าง บ่อยครั้งหรือเปล่า ราคาแพงไป? หากเราคิดว่าเครื่องประดับชิ้นนี้เหมาะกับเรา มันสามารถเพิ่มความมั่นใจให้กับเราได้เยอะ และเราสามารถใส่มันได้ในหลายโอกาส ราคามันไม่แพงเลย แน่นอนว่าเจ้าของความคิดจะต้องซื้อมัน

แต่ถ้าหากว่าเราใช้การตัดสินใจแบบเร็วด้วยความเคยชิน เหมือนกับที่เราเลือกซื้ออาหาร หากเป็นอาหารเราคงไม่ต้องคิดมากเพราะเราซื้อเพื่อมากินแก้หิว เราตัดสินใจซื้อเครื่องประดับนั้นโดยที่ชั่งน้ำหนักความคุ้มค่าใดๆเลย มีโอกาสอย่างมากที่เราจัพบถึงความผิดพลาดในการตัดสินใจ เมื่อพบว่าเราไม่เคยหยิบเครื่องประดับชิ้นนั้นมาใช้เลย

ในงานเขียน

ความคิดเห็น